วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ไข้ทรพิษ

ไข้ทรพิษ

ที่มา http://f.ptcdn.info/283/022/000/1407908285-7-o.png

       ไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาษ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เคยระบาดในทุกภูมิภาคของโลก มักระบาดในช่วงฤดูฝน โรคนี้เคยระบาดรุนแรงในเมืองไทยในช่วงปี พ.ศ. 2488–2490 มีผู้ป่วย 64,000 ราย ตาย 16,000 ราย การระบาดในปี พ.ศ.2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 ราย ตาย 272 ราย และบันทึกการระบาดครั้งสุดท้ายคือเมื่อปี พ.ศ.2504 มีผู้ป่วย 33 ราย ตาย 5 ราย โดย รับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า นับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย

       โรคนี้ได้มีการเริ่มมีการระบาดในประเทศ อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ.2519 และได้มีการถูกนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในสงครามที่รัสเซีย และได้ถูกกล่าวขวัญในชื่อสงครามเชื้อโรค จนกระทั่งประเทศอเมริกาได้แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนแก่ประชาชน

ที่มา http://img.medscape.com/fullsize/migrated/editorial
/clinupdates/2003/2265/friedewald.fig7.jpg


สาเหตุ

       เกิดจากการสัมผัสเชื้อโรคที่มีอยู่ตามเยื่อบุภายในปาก จมูก ตุ่ม สะเก็ดแผลผู้ป่วย เชื่อที่ทำให้เกิดโรค เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า วาริโอลาไวรัส (Variola Virus) ซึ่ง มักอาศัยอยู่ตามเยื่อบุภายในปาก จมูก บาดแผลที่ผิวหนัง และสะเก็ดแผลของผู้ป่วย

การติดต่อ

       เป็นโรคติดต่อร้ายแรง แต่การติดต่อไม่ง่ายเท่าในโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ มักจะต้องมีการสัมผัสใกล้ชิด ผู้ป่วยจะไอ จาม หรือแม้ขณะพูดจะมีเชื้อแพร่ออกมาทางอากาศ และผู้ติดโรคจะหายใจเอาเชื้อเข้าไป นอกจากนี้อาจจะติดต่อโดยการได้รับเชื้อซึ่งอยู่ในเสื้อผ้าหรือที่นอน ผ้าห่ม เสื้อผ้าของผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคนี้สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีผื่น

อาการ
       อาการที่สำคัญของไข้ทรพิษคือเป็นไข้หนาวสะท้านหรือมีไข้สูงเกิดขึ้นทัน ที่ ปวดศีรษะและหลัง ต่อมาประมาณวันที่ 2-3 จะมีผื่นเกิดขึ้น ผื่นมักจะขึ้นตามหน้า และขึ้นตามข้อมือและตัว ในระยะที่มีฝีเกิดขึ้น ไข้และความเจ็บปวดจะลดลงเล็กน้อยเป็นการชั่วคราว หลังจากนั้น ไข้จะกลับสูงขึ้นอีก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะและปวดบั้นเอวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ อ่อนเพลียหมดกำลัง มึนงง บางรายอาจมีอาการปวดท้องหรือท้องผูกด้วย ผื่นที่ เกิดจะกลายเป็นตุ่มโปน มีน้ำเหลืองขัง กลายเป็นหนอง ยอดตุ่มจะเหี่ยวหัวมีสีดำ เม็ดหนอง จะแตกเป็นแผลมีสะเก็ด บางรายจะมีผื่นเป็นแบบจํ้าเลือด
       อาการของผู้ป่วยอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและความด้านทาน ของผู้ป่วย ดังนั้นอาจแบ่งอาการของไข้ทรพิษได้เป็น 2 ชนิด คือ

  1. ไข้ทรพิษชนิดอ่อน (Variola minor or alastrim)จะมีผื่นขึ้นเหมือนชนิดร้ายแรง แต่จะไม่มีผื่นแบบจ้ำเลือดและไม่มีอาการโลหิตออกตามผิวหนัง
  2. ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง (Variola major or classical smallpox) ผู้ป่วยจะมีอาการป่วยที่รุนแรง ผื่นขึ้นครั้งแรกจะเป็นจํ้าเลือดและมีการตกโลหิตจากเยื่อจมูก

    ส่วนฝีดาษชนิด intermediate จะปรากฏเฉพาะในอาฟริกาเท่านั้น

ที่มา http://www.suriyothai.ac.th/files/u1275/smallpox_baby.jpg
โรคแทรกซ้อน

  1. ผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
  2. ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
  3. กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรค ในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
  4. ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
การรักษา
  1. รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน และให้มีการแจ้งแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำท้องถิ่นทราบ
  2. ควรแยกผู้ป่วยไว้ต่างหาก เพื่อป้องกันการสัมผัสคลุกคลีกับผู้อื่นอยู่ในห้องที่มีมุ้งลวด เข้มงวดเรื่องสิ่งของที่เปรอะเปื้อนเชื้อโรคจากผู้ป่วย ควรให้มีการฆ่าเชื้อหรือนำไปต้มก่อนนำ ไปซักทำความสะอาดตามปกติ และควรเคร่งครัดเป็นกรณีพิเศษ
       โรคไข้ทรพิษนั้นเป็นโรคที่น่ากลัว เนื่องจากปัจจุบันนี้ยังไม่มียาที่สามารถรักษาได้โดยตรง ดังนั้น การให้ความสำคัญในการดูแลสุขอนามัยของตนเองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด





ที่มา

http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bm521/pantipa09_1/Virus/torapis.htm

http://www.healthcarethai.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น